วันจันทร์ที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับชาติตะวันตก (โปรตุเกส) สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สรุป โปรตุเกสเป็นตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยเพื่อผูกสัมพันธไมตรีและติดต่อค้าขายกับไทย ในสมัย ร.1 มีการเจริญสัมพันธไมตรีอย่างปกติธรรมดาและการติดต่อค้าขายระหว่างกันมีน้อยมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2329 อันโตนีโอ วิเสน เป็นผู้นำสาสน์จากทางการโปรตุเกสมาถวาย ร.1 เพื่อขอผูกมิตรกับไทย ซึ่ง ร.1 ทรงต้อนรับเป็นอย่างดี ต่อมาในสมัย ร.2 ความสัมพันธ์ของไทยกับโปรตุเกสมีความแน่นแฟ้นมากขึ้น มีการติดต่อทางการฑูตและทำสัญญาระหว่างกัน นอกจากนี้ชาวโปรตุเกสได้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่เรือกำปั่นหลวงที่เดินทางไปค้าขายที่มาเก๊า รวมทั้งไทยยังต้องการซื้อปืนใหญ่จากโปรตุเกสเอาไว้ใช้ป้องกันพระนครด้วยจึงยินดีผูกมิตรกับโปรตุเกส ต่อมาผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสที่เมืองกัว ในอินเดีย ได้เข้ามาขอพระราชทานที่ดินและอาคารให้กงสุลได้พักอาศัย และขอปักธงโปรตุเกสที่สถานกงสุล ซึ่ง ร.2 ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานตามที่ขอพร้อมแต่งตั้งให้ซิลเวย์รามีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอภัยพาณิช ความสัมพันธ์กับโปรตุเกสนับจากนี้ไปจนถึง ร.3 เป็นความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้าแต่ไม่รุ่งเรืองมากนัก

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัฐมหาอำนาจ (จีน) สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สรุป ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนเป็นความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการ โดยไทยส่งเครื่องราชบรรณาการไปจีน 3 ปี ต่อครั้ง ทำให้ไทยและจีนได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านการค้ามากมาย เมื่อคนไทยเดินทางกลับจากการค้าขายกับจีนได้นำสินค้าสำคัญกลับเมืองไทย อีกทั้งบรรทุกชาวจีนผู้แสวงโชคและผู้หนีภัยทางการเมืองจากจีนมายังไทยด้วย ต่อมาในสมัย ร.3 การค้าขาย ระหว่างไทยกับจีนเจริญรุ่งเรืองมาก รัฐบาลจึงนำรายได้จากการค้าไปบูรณะวัดวาอาราม ดังนั้นศิลปะไทยสมัยนี้จึงปะปนกับศิลปะของจีนอยู่มาก

วันพฤหัสบดีที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑

สานสัมพันธ์เขมร-ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สมัย ร.1 เหตุการณ์จลาจลในเขมรยังไม่สิ้นสุด พระราชวงศ์ของเขมรได้มาพำนักที่กรุงเทพฯ อีกทั้ง ร.1 ทรงรับนักองเองเป็นราชบุตรบุญธรรม เมื่อเหตุการณ์ในเขมรสงบลงจึงให้พระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) เป็นผู้สำเร็จราชการกรุงเขมร ต่อมานักองเองได้เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี แล้วให้พระยาอภัยภูเบศร์ปกครองเขมรส่วนใน ได้แก่ พระตะบองดับเสียมราฐ โดยขึ้นตรงต่อไทยไม่ขึ้นต่อเขมร ต่อมานักองจัน (โอรสนักองเอง) ขึ้นครองราชย์สมบัติต่อจากพระราชบิดา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระอุทัยราชาธิราช ในช่วงปลาย ร.1 และต้น ร.2 ของไทย สมเด็จพระอุทัยราชาธิราชไม่พอใจที่เขมรส่วนในขึ้นตรงต่อไทย จึงไม่มาถวายบังคมพระบรมศพด้วยพระองค์เอง อีกทั้งได้คบกับญวนเพื่อคานอำนาจกับไทย ทำให้ราชสำนักเขมรแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ เขมรนิยมญวน กับ เขมรนิยมไทย ต่อมาพระอุทัยราชานำเขมรไปขึ้นกับญวนแต่ยังส่งเครื่องบรรณาการมายังไทย ในสมัย ร.3 สมเด็จพระอุทัยราชาธิราชทนญวนกดขี่ไม่ได้จึงขอพระราชทานอภัยโทษต่อ ร.3 พระองค์ก็ไม่ถือโทษโกรธเคืองแล้วเขมร จึงโปรดเกล้าฯ พระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) ยกทัพไปปราบกบฏที่ไซ่ง่อน ทำให้เกิดสงครามยืดเยื้อ 10 กว่าปี จึงต้องทำสัญญาปกครองเขมรร่วมกัน

สานสัมพันธ์ลาว-ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สรุป ลาวเป็นประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยธนบุรี โดยมีแบ่งออกเป็น หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ ในสมัย ร.1 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านันทเสนไปครองเวียงจันทน์และนำพระบางที่ไทยยึดมาไปคืนแก่ลาวด้วย ต่อมาเจ้านันทเสนเป็นกบฏ จึงถูกจำคุก แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินทรวงศ์ และเจ้าอนุวงศ์ ครองเวียงจันทน์ ตามลำดับ ต่อมาในสมัย ร.2 เจ้าเมืองจำปาศักดิ์เป็นกบฏ เจ้าราชบุตร (ราชบุตรเจ้าอนุวงศ์) ยกทัพไปปราบได้สำเร็จ จึงได้ครองเมืองจำปาศักดิ์ ทำให้เจ้าอนุวงศ์มีกำลังทัพที่เข้มแข็งขึ้น ต่อมาในสมัย ร.3 มีข่าวลือมาไทยขัดแย้งกับอังกฤษและอังกฤษจะนำทัพเรือเข้ายึดกรุงเทพฯ เจ้าอนุวงศ์ยกทัพมายังไทย โดยเข้าตีเมืองนครราชสีมาได้โดยง่าย เนื่องจากเจ้าเมืองฯ ติดราชการที่กรุงเทพฯ ระหว่างทางเดินทางกลับลาวนั้นได้หยุดพักที่ทุ่งสำริด คุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) ได้เลี้ยงสุราอาหารแก่ทหารลาว แล้วได้ใช้มีด พร้า อาวุธทำครัว ฆ่าฟันทหารลาว ได้รับบาดเจ็บและล้มตายเป็นอันมาก จึงทำให้แตกทัพหนีไป ร.3 จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดียกทัพไปปราบกบฏอนุวงศ์ จึงจับตัวเจ้าอนุวงศ์มาขังที่กรุงเทพฯ สำหรับพระยาราชสุภาวดีได้รับบำเหน็จเลื่อนเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชา ลาวจึงเป็นประเทศราชของไทย จนไทยต้องเสียลาวให้แก่ฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

วันพุธที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชุดที่ 1


สรุป หัวเมืองมลายูประกอบด้วย ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานูเป็นประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกจึงพากันแข็งเมือง ด้วยเหตุนี้พระเจ้าตากสินฯ จึงยกทัพไปปราบเพื่อให้อยู่ในราชอำนาจ แต่ได้เพียงนครศรีธรรมราชไปถึงเมืองสงขลาเท่านั้น ต่อมาในสมัยพระพุทธยอดฟ้าฯ (รัชกาลที่ 1) พม่าได้เข้ามาครอบครองหัวเมืองมลายู ครั้นเมื่อขับไล่พม่าออกไปจากภาคใต้แล้ว กรมพระราชวังบวรฯ จึงส่งสารไปยังเจ้าเมืองมลายู ให้ส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองมายังกรุงเทพฯ ในฐานะเป็นประเทศราชของไทยแต่ทางหัวเมืองมลายูไม่ยอมปฏิบัติตาม กรมพระราชวังบวรฯ จึงยกทัพไปตีเมืองปัตตานีและได้รับชัยชนะจึงได้นำปืนใหญ่พระยาตานีมายังกรุงเทพด้วย
การปกครองหัวเมืองมลายูของไทยนั้นมีหลายรูปแบบ กล่าวคือ ในสมัย ร.1 มีการแบ่งหัวเมืองมลายูออกเป็น 7 หัวเมืองเพื่อป้องกันการก่อกบฏ ต่อมาในสมัย ร.2 ให้นครศรีธรรมราชและสงขลาแบ่งเขตกันดูแลหัวเมืองมลายู และในสมัย ร.3 ให้นครศรีธรรมราชดูแลหัวเมืองมลายูทั้งหมด

แบบฝึกหัด ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย (สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น) ชุดที่ 1

แบบฝึกหัด ชุดที่ 1
1.ให้นักเรียนขอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มา 4 ประการ
1)...........................................................................
2)...........................................................................
3)...........................................................................
4)...........................................................................
ให้นักเรียนเขียนตอบเลย นะครับ